วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ภูมิประเทศของโลก
            ลักษณะของเปลือกโลกมีลักษณะรูปแบบต่างๆ กัน  บางบริเวณมีลักษณะไม่ราบเรียบ สูงๆ ต่ำๆ  บางบริเวณเป็นที่ราบลุ่มที่มีน้ำท่วมถึง  บางบริเวณเป็นที่สูง  เป็นกรวดเป็นทรายกว้างขวาง บางบริเวณเป็นภูเขาสูงสลับกับหุบเขาลึก ซึ่งเราสามารถแบ่งลักษณะภูมิประเทศตามสภาพสูงต่ำของเปลือกโลกได้  3  รูปแบบ  ได้แก่ 

            1. ที่ราบ (plain) หมายถึง พื้นผิวโลกที่เป็นที่ราบเรียบหรือขรุขระก็ได้ โดยมีความต่างระดับในท้องถิ่น ( local relief)ไม่เกิน 150 เมตร และโดยปกติจะอยู่สูงกว่าระดับทะเลไม่เกิน  100  เมตร ความแตกต่างระหว่างพื้นที่ระหว่างที่ต่ำกับที่สูงจะมีไม่มากนัก โครงสร้างของหินที่รองรับจะวางตัวอยู่ในแนวราบหรือเกือบราบ  ลักษณะที่ราบจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

            1.1  ที่ราบแม่น้ำ (river plains)  หรือที่ราบลุ่มแม่น้ำ (allurival plains)  เป็นที่ราบที่มีลักษณะสำคัญคือมีแม่น้ำไหลผ่านบนพื้นที่ของที่ราบ และปรากฏลักษณะชัดเจนในบริเวณปากแม่น้ำ นอกจากนี้บริเวณที่ราบแม่น้ำจะมีลักษณะภูมิประเทศอื่นปะปนอยู่ด้วย  เช่น
                     - ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมบริเวณปากแม่น้ำ (deltaic plains)  เกิดจากแม่น้ำนำตะกอนดินมาทับถมให้ตื้นเขินขึ้นที่บริเวณปากแม่น้ำ  ลักษณะของพื้นที่ที่ตื้นเขินจะคล้ายสามเหลี่ยม  เช่น  บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา (เริ่มตั้งแต่จังหวัดชัยนาทลงมาถึงอ่าวไทย  มีบางส่วนของจังหวัดชลบุรีและราชบุรีที่อยู่ตอนล่าง) 
                     - ที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plains)  เป็นที่ราบที่อยู่ริมแม่น้ำ  จะมีน้ำท่วมเอ่ออยู่เป็นเวลานาน
                     - ลานตะพักลำน้ำ (river tereace)  เป็นที่ราบริมแม่น้ำที่แม่น้ำกัดเซาะพื้นผิวโลก  และนำตะกอนมาทับถมไว้  เมื่อแม่น้ำกัดเซาะจนพื้นผิวโลกมีระดับลึกลงไป  จะกลายเป็นที่ราบลานตะพักลำน้ำไว้  ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดในบริเวณตอนกลางของลำแม่น้ำ  ซึ่งพื้นที่นั้นจะถูกยกตัวให้สูงขึ้น  ทำให้น้ำท่วมไม่ถึง

            1.2  ที่ราบชายฝั่ง  (coastal plains)  เป็นที่ราบที่เกิดบริเวณชายฝั่งทะเลโดยคลื่นและกระแสลมจะพัดพาเอาโคลน  ทราย  และตะกอนต่างๆ มาทับถมไว้ที่ชายฝั่ง  ลักษณะที่ราบชายฝั่งทะเลมีหลายลักษณะ  เช่น 
                     - ที่ราบชายฝั่งทะเลทั่วไปเมื่อคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง  หรือขัดสีโขดหินให้ราบเรียบลง  บางส่วน มีตะกอนที่คลื่นพัดพามาทับถมชายฝั่งให้ตื้นเขิน 
                     - ที่ราบบางแห่งเป็นพื้นที่กว้างขวางมีภูเขาโดดๆ กระจายอยู่ทั่วไป  ภูเขาเหล่านี้เดิมเป็นเกาะ  อยู่ในทะเลตื้นๆ ต่อมาน้ำทะเลลดลงหรือตื้นเขิน  เกาะจึงกลายเป็นภูเขาอยู่บนพื้นที่ราบ
                     - ที่ราบบางแห่งเป็นที่ราบแคบๆ ชายฝั่ง  ในบริเวณที่เป็นเกาะ  ที่ราบชายทะเลแม้จะเป็นที่ราบแคบๆ แต่ก็เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเพราะเกาะมักไม่ค่อยมีพื้นที่ราบสำหรับการเพาะปลูก

            1.3  ที่ราบดินตะกอนเชิงเขา  (piedmont alluvial plains)  เป็น ที่ราบที่เกิดจากน้ำและลมพัดพาดินตะกอนจากภูเขามาทับถมไว้บริเวณเชิง เขา  ซึ่งจะกระจายแผ่ออกเป็นลักษณะดินตะกอนรูปพัด  ถ้าเป็นแนว ภูเขาต่อเนื่องกันยาว  อาจเกิดเป็นดินตะกอนรูปพัดหลายๆ อันต่อเนื่องกันเป็นผืนกว้างขวาง บริเวณที่ราบดินตะกอนเชิงเขาจะประกอบด้วยดินหยาบๆ และกรวดซ้อนอยู่เป็นชั้นๆ  กรวดเหล่านี้จะอยู่ชั้นล่าง  ส่วนที่เป็นดินทับอยู่ข้างบน  ลักษณะเช่นนี้จะระบายน้ำได้ดี
      
             1.4  ที่ราบธารน้ำแข็ง  ใน พื้นที่ที่เป็นเขตหนาวและเขตอบอุ่น จะปรากฏที่ราบที่เกิดจากธารน้ำแข็งกัดกร่อนเปลือกโลกให้ราบลง  ที่ราบที่เกิดจากธารน้ำแข็งจะมีร่องรอยของการขูดครูด  ทำให้เกิดทะเลสาบหรือแอ่งน้ำกระจายอยู่ทั่วไป  แหล่งน้ำเหล่านี้มีขนาดต่างๆ กัน  เล็กบ้าง  ใหญ่บ้าง  ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากธารน้ำแข็งขุดลึกลงไปในเปลือกโลก  เช่น  รัฐมินนิโซตาในสหรัฐอเมริกา  มีทะเลสาบเล็กๆ เป็นจำนวนมาก
             ในพื้นที่บางแห่งธารน้ำแข็งเมื่อกัดกร่อนเปลือกโลกแล้วจะพัดพากรวด  ทราย  มาเป็นตะกอนทับถมเป็นที่ราบ  บางแห่งเป็นตะกอนดินล้วนๆ  ที่ราบธารน้ำแข็งในลักษณะนี้เรียกว่า  ที่ราบทิล  (till)  หรือ  boulder clay  ในพื้นที่บางแห่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์สำหรับการเกษตร  เช่น  บริเวณ  Mid-West  ในสหรัฐอเมริกา  บริเวณ  East Anglia  ในอังกฤษ 
            ที่ราบเศษหินธารน้ำแข็ง  (outwash plains, sandur  หรือ  sandr)  ซึ่งมักเป็นพื้นที่ที่แห้งแล้ง  เช่น  บางส่วนของเนเธอร์แลนด์  และเยอรมนีตอนเหนือ

            1.5  ที่ราบภายในทวีป  เป็นที่ราบที่เกิดขึ้นจากการยกตัวของผืนทวีปหรือเปลือกโลก  ทำให้ท้องทะเลบางแห่งภายในผืนทวีปตื้นเขินขึ้นกลายเป็นที่ราบซึ่งจะมีพื้นที่กว้างขวางมาก  ได้แก่  เกรตเพลนส์  (great plains)  ในทวีปอเมริกาเหนือ มีพื้นที่บริเวณกว้างจากตะวันตกของสหรัฐอเมริกาเข้าไปถึงประเทศแคนาดา  ซึ่งสันนิษฐานว่าเดิมเป็นทะเลตื้นๆ ในทวีปอเมริกาเหนือ  ที่ราบกว้างใหญ่ในรัสเซียที่เรียกว่า  Russian  Platform  หรือบริเวณที่เรียกว่า  ยูเรเซีย  (Eurasia)  หมายถึง  ที่ราบที่อยู่ในประเทศรัสเซียซึ่งเป็นผืนดินต่อเนื่องระหว่างทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย
            ที่ราบส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณที่เหมาะ สมสำหรับทำการเกษตรและการตั้งถิ่นฐานของประชากร  บริเวณที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมเป็นเขตกสิกรรมที่อุดมสมบูรณ์มาก  เช่น  บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ในอียิปต์เป็นแหล่งปลูกข้าวและฝ้าย บริเวณลุ่มแม่น้ำคงคาเป็น แหล่งปลูกข้าว ป่าน และปอ  ลุ่มแม่น้ำหวางในจีนเป็นแหล่งปลูกผัก

            2. ที่ราบสูง  (plateau)  หมายถึง  บริเวณพื้นที่ที่มีระดับสูงขึ้นกว่าบริเวณที่อยู่โดยรอบ  ส่วนใหญ่มักเป็นบริเวณที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่  เป็นพื้นที่ที่มีความต่างระดับมากกว่า  150  เมตร  (ความสูงในท้องถิ่นมากกว่า  150  เมตร)  และสูงกว่าระดับทะเลตั้งแต่  100  เมตร  จนถึง  1,500  เมตร  ส่วนโครงสร้างของหินที่รองรับวางตัวอยู่ในแนวระนาบหรือเกือบราบ    โดยมีขอบชันหรือผาชัน  (escarpment)  อยู่อย่างน้อยหนึ่งด้าน  หรือมีทิวเขากั้นเป็นขอบอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง 
            ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นที่ราบสูงถ้าแบ่งตามเกณฑ์ลักษณะที่ตั้งมี  3  รูปแบบ  คือ  ที่ราบสูงระหว่าง ภูเขา  ที่ราบสูงเชิงเขา  และที่ราบสูงทวีป
            ลักษณะที่ราบสูงถ้าแบ่งตามเกณฑ์ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน  แบ่งออกเป็น  3  รูปแบบ  คือ  ที่ราบสูงหินแนวราบ ที่ราบสูงหินผิดรูป  ที่ราบสูงหินลาวา
          3. ภูเขาและเนินเขา (mountains and hills)  หมายถึง  บริเวณพื้นที่ที่มีความสูงจากบริเวณรอบๆ ทั้งภูเขาและเนินเขา มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วๆ ไปเหมือนกัน  แตกต่างอยู่ที่ความต่างระดับและความลาดชัน  (slope)  ภูเขาจะมีความต่างระดับซึ่งเป็นที่สูงเกิน  500  เมตร  ส่วนเนินเขาเป็นพื้นที่ที่มีความสูงน้อยกว่า  (ประมาณ  150-500 เมตร)  ความไม่ราบเรียบของภูเขาและเนินเขาขึ้นอยู่กับการวางตัวของหิน  ทำให้แบ่งลักษณะภูเขาและเนินเขาออกเป็น  4   รูปแบบ  คือ 

                        3.1  ภูเขาโก่ง  (folded Mountains)  หรือ  fold   ภูเขาประเภทนี้มีมากที่สุดและเป็นภูเขาที่สำคัญ  เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลกเนื่องจากได้รับแรงกดและแรงบีบ  ส่วนที่โก่งขึ้นเรียกว่า  โค้งรูปประทุนหรือกระทะคว่ำ  (anticline)  ส่วนที่โก่งลงเรียกว่า  โค้งรูปประทุนหงายหรือกระทะหงาย  (syncline)  ตัวอย่างภูเขาที่ขึ้นชื่อของโลกคือ  เทือกเขาร็อกกี (Rocky) เทือกเขาแอนดีส (Andes)  เทือกเขาแอลป์ (Alps) เทือกเขาจูรา  (Jura)  ในทวีปยุโรป
                        ภูเขาที่เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลกนี้บางทีถูกยกระดับจากพื้นดินมาก  จึงเรียกภูเขาชนิดนี้ว่า  ภูเขาที่เกิดจากการยกระดับ  (mountain of  elevation)  บริเวณดังกล่าวมักพบภูเขาไฟด้วยและแร่ธาตุที่มีค่า  เช่น  ดีบุก  ทองคำ  และน้ำมันปิโตรเลียม


                         3.2  ภูเขาบล็อก  (fault-block mountains)  เกิดจากการเลื่อนตัวของเปลือกโลกในลักษณะของรอยเลื่อนหรือรอยเหลื่อม  (faulting)  คือ เกิดแนวแตกของเปลือกโลกซีกหนึ่งจมยุบลงและดันให้อีกซีกหนึ่งยกตัวขึ้นสูงเป็นภูเขา
                        ในบางกรณีเกิดภูเขาที่เรียกว่า  ฮอร์สต์  (Horst)  ซึ่งจะเกิดควบคู่กับแอ่งกราเบน  (Graben)  หรือเรียกว่า  หุบเขาทรุด  หรือ  rift  valley  ซึ่งเกิดจากเปลือกโลกแตกแยกเป็นแท่งแล้วจมลง  แล้วดันให้บริเวณตรงข้ามที่เป็นแท่งยกตัวขึ้น
                        ภูเขาบล็อก  เช่น  เทือกเขาเซียร์ราเนวาดา  (Sierra  Nevada)  ในรัฐแคลิฟอร์เนีย  (เป็นภูเขาหัก)  เทือกเขา  Hunsruck  และแบล็กฟอเรสต์  (Black Forest)  ในบริเวณไรน์แลนด์  (Rhineland)  ในเยอรมนี
                        3.3  ภูเขาโดม  (dome mountains)  เกิดจากการดันตัวของหินละลาย  (lava)  หรือหินหนืด  (magma)  ภายในโลก พยายามแทรกเปลือกโลกแต่ไม่สามารถดันออกมาภายนอก  จึงแข็งตัวภายใต้เปลือกโลก  เมื่อหินที่ปกคลุมอยู่เดิมสึกกร่อนไปหมด  จะเหลือแต่แกนหินซึ่งเป็นหินอัคนีซึ่งเกิดจากการดันตัวของหินละลาย  ลักษณะแบบนี้อาจเป็นบริเวณกว้างเป็นแนวเทือกเขาก็ได้  เช่น  ภูเขาแบล็คฮิลส์  (Back Hills)  ในรัฐดาโคตา  สหรัฐอเมริกา  


                         3.4  ภูเขาไฟ  (Volcanic Mountains)  เกิดจากการดันตัวของหินละลาย  (lava) และหินหนืด  (magma)  ที่ขับออกมาตามรอยแตกแยกของเปลือกโลกคือ  ออกมาภายนอกโลกได้  ทำให้เกิดมูลภูเขาไฟ  (cinders)  เถ้าถ่าน  ฝุ่นละออง  และโคลนเหลวไหลปลิวตกรอบๆ ปล่องภูเขา  ภูเขาไฟจึงมีรูปร่างคล้ายกับกรวยหรือรูปฝาชีเพราะการไหลของลาวากระจายออกมาเสริมรูปร่างของภูเขา  บริเวณภูเขาไฟและที่ใกล้เคียงจะพบหินซึ่งมีรูพรุนที่เกิดจากฟองอากาศ  ถ้าเป็นภูเขาไฟซึ่งมีการระเบิดรุนแรง  จะพบวัตถุภูเขาไฟ  เช่น  เถ้า ถ่านภูเขาไฟ  บอมบ์ภูเขาไฟ  (voloanic bomb)  ภูเขาไฟนี้บางครั้ง จะเรียกว่า  ภูเขาแห่งการทับถม  (mountains of aecmulation)  เช่น  ภูเขาฟูจิ (Fuji) ในประเทศญี่ปุ่น  ภูเขามาโยน (Mayon) ในประเทศฟิลิปปินส์   ภูเขาเมราปิในเกาะสุมาตรา  ภูเขาไฟอากุง (Agung) ในเกาะบาหลี  และภูเขาไฟโกโตปักซี (Cotopaxi) ในประเทศเอกวาดอร์

ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏเด่นชัด (Major Landforms)
ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏเด่นชัดสี่ประเภทมีอะไรบ้าง
ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏเด่นชัดสี่ประเภท คือ ภูเขา (Mountain) เนินเขา (Hill) ที่ราบ (Plain) และ ที่ราบสูง (Plateau)
ภูเขา (Mountain) หมายถึงผืนดินบริเวณที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งพันฟุต เมื่อเทียบกับบริเวณโดยรอบ ภูเขาส่วนใหญ่มีฐานกว้าง และมียอดเขา (Peak) แหลม ยอดเขาคือส่วนที่มีลักษณะแหลมบนยอดของภูเขา
ภูเขาเกิดขึ้นได้โดยหลายวิธีด้วยกัน ภูเขาอาจก่อตัวขึ้นเมื่อแผ่นเปลือกโลก (Tectonic Plate) สองแผ่นเข้าปะทะกัน และทำให้แผ่นดินบางส่วนถูกดันขึ้นจนเป็นภูเขา เทือกเขาหิมาลัย” (The Himalayas Mountain Range) ในทวีปเอเชียเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการก่อตัวของภูเขาในแบบนี้
ภูเขาบางลูกอาจเกิดขึ้นตามรอยเลื่อน (Fault) หรือรอยแยกของเปลือกโลก ตัวอย่างของภูเขาประเภทนี้คือ เทือกเขาเซียร์รา เนวาดา” (The Sierra-Nevada Mountains) ที่อยู่ทางภาคตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา
ภูเขาไฟก็ทำให้เกิดภูเขาได้เช่นกัน ภูเขาไฟ (Volcano) เป็นเหมือนช่องระบายความร้อนของโลก ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ หินหนืด” (Magma) หรือหินเหลวความร้อนสูงที่อยู่ใต้พิภพปะทุขึ้นและไหลออกมาสู่พื้นผิวโลก ภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆของโลกคือ ภูเขาไฟฟูจิในประเทศญี่ปุ่น (Mount Fuji, Japan) ภูเขาไฟคิริมันจาโรที่อยู่ในทิศตะวันออกของทวีปแอฟริกา (Mount Kirimanjaro, Eastern Africa) ภูเขาไฟเปเลบนเกาะมาร์ทินีคในทะเลแคร์ริบเบียน (Mount Pelee, Martinique Island, The Caribbean) และ ภูเขาไฟมัวนา โลอาในหมู่เกาฮาวาย (Mauna Loa, Hawaii)
เทือกเขาบนพื้นดินที่ยาวที่สุดโลกคือเทือกเขาแอนดีส (Andes Range) ที่ทอดยาวอยู่ทางชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ อย่างไรก็ตาม เทือกเขาที่ยาวที่สุด บนผิวโลกจริงๆแล้วซ่อนตัวอยู่ใต้มหาสมุทร เทือกเขาดังกล่าวนี้โยงใยล้อมรอบไปทั่วโลก และมีความยาวมากกว่า 40,000 ไมล์ เทือกเขานี้มีชื่อว่า เทือกเขากลางสมุทร” (The Mid-Ocean Range)
เนินเขา” (Hill) หมายถึงผืนดินที่มีความสูงมากกว่าบริเวณรอบๆ และมียอดโค้งมน ซึ่งเนินเขาจะมีขนาดเล็กกว่า และพื้นดินจะสลับซับซ้อนน้อยกว่าภูเขา
ที่ราบ” (Plain) หมายถึงพื้นดินที่ราบเกือบเสมอกันหมด ประชากรมากกว่าครึ่งบนโลกของเราอาศัยอยู่บนที่ราบ ซึ่งเป็นลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏอยู่มากกว่า 55 เปอร์เซ็นต์บนผิวโลก การก่อสร้างเมืองบนที่ราบนั้นง่ายกว่ามาก และการเดินทางบนที่ราบก็เช่นกัน
ที่ราบส่วนใหญ่บนโลกเป็นผืนแผ่นดินที่สมบูรณ์ และพืชผลทางการเกษตรส่วนใหญ่ของโลกเราก็ปลูกบนลักษณะภูมิประเทศแบบนี้ ตัวอย่างของภูมิประเทศที่เป็นที่ราบคือ ที่ราบแห่งอเมริกาเหนือ (The Great Plain of North America) ที่ราบยุโรปเหนือ (The North European Plains) ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ประเทศเบลเยียมไปถึงเทือกเขายูรัล (Ural Mountains) ของประเทศรัสเซีย และที่ราบจีน (The North China Plains) ในทวีปเอเชียตะวันออก
ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏเด่นชัดประเภทที่สี่ คือ ที่ราบสูง” (Plateau) ที่ราบสูงคือพื้นที่กว้างใหญ่ที่ราบเกือบเสมอกันหมด แต่มีความสูงมากกว่าบริเวณโดยรอบ โดยปรกติแล้วที่ราบสูงจะมีด้านข้างสูงชัน ซึ่งอาจสูงตั้งแต่ 300 ถึง 3,000 ฟุต ที่ราบสูงเกิดขึ้นจากการยกตัวของเปลือกโลก เนื่องจากที่ราบสูงมีส่วนบนที่ราบเสมอกัน บ่อยครั้งที่มีคนเรียกภูมิประเทศประเภทนี้ว่าเป็น “Tablelands” คือมีลักษณะคล้ายโต๊ะ ที่ราบสูงที่มีขนาดเล็ก หรือบางส่วนของที่ราบสูงขนาดใหญ่กว่าจะเรียกกันว่า ภูเขายอดราบ” (Mesa) ชื่ออย่างเป็นทางการของส่วนเล็กๆในที่ราบสูงขนาดใหญ่นี้คือ “Outlier” แต่หากมีขนาดสูงและผอมกว่าจะเรียกว่า “Butte”

ที่ราบสูงโคโลราโด (The Colorado Plateau) ที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา และที่ราบสูงธิเบต (Tibetan Plateau) ในประเทศจีน เป็นตัวอย่างที่สำคัญของลักษณะภูมิประเทศแบบนี้
ด้านข้างของภูมิประเทศแบบที่ราบสูงนี้เรียกกันว่า ผาตั้ง” (Escarpment) ซึ่งก็คือหน้าผาที่สูงชันที่แยกพื้นดินที่ต่างระดับกันออกจากกัน รูปของเมืองเคปทาวน์ในประเทศแอฟริกาใต้ (Cape Town, South Africa) นี้แสดงให้เห็นผาตั้งอยู่เป็นฉากหลัง พื้นที่ในทวีปแอฟริกาส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ซึ่งล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ชายฝั่งที่ต่ำกว่า และรูปที่นี้แสดงความแตกต่างของความสูงให้เห็นได้อย่างชัดเจน




ภูมิอากาศ
ภาพที่ 1 แกนของโลกเอียง 23.5° ทำให้เกิดเขตภูมิอากาศ

          จากภาพที่ 1 แสดงถึง แกนของโลกเอียง 23.5° กับระนาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ในวันที่ 21 มิ.ย. โลกหันขั้วเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ บริเวณเหนือเส้นอาร์คติกเซอร์เคิล (ละติจูด 66.5° เหนือ) ขึ้นไป จะได้รับแสงอาทิตย์ตลอดเวลา ส่วนบริเวณใต้เส้นแอนตาร์คติกเซอร์เคิล (ละติจูด 66.5° ใต้) ลงมา จะเป็นกลางคืนตลอดเวลา ซีกโลกเหนือเป็นฤดูร้อน ขณะที่ซีกโลกใต้เป็นฤดูหนาว
          หกเดือนต่อมา ในวันที่ 21 ธ.ค. บริเวณใต้เส้นแอนตาร์คติกเซอร์เคิล (ละติจูด 66.5° ใต้) ลงมา จะได้รับแสงอาทิตย์ตลอดเวลา ส่วนบริเวณเหนือเส้นอาร์คติกเซอร์เคิล (ละติจูด 66.5° เหนือ) ขึ้นไป จะกลายเป็นกลางคืนตลอดเวลา ซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน ขณะที่ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาว
          หากโลกเป็นทรงกลมที่สมบูรณ์และมีพื้นผิวราบเรียบ ไม่มีภูเขาหุบเขา ไม่มีทะเลมหาสมุทร และมีองค์ประกอบของพื้นผิวเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีแม้กระทั่งใบไม้ใบหญ้า เราสามารถแบ่งเขตภูมิอากาศในแต่ละซีกโลกออกเป็น 3 เขต ดังนี้
            เขตร้อน อยู่ระหว่างเส้นทรอปิคออฟแคนเซอร์ กับเส้นทรอปิคออฟแคปริคอน (ละติจูด 23.5° ใต้) แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นโลกเป็นมุมชัน และมีโอกาสที่ดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือศีรษะได้ พื้นที่เขตนี้จึงรับพลังงานจากดวงอาทิตย์ได้มากกว่าส่วนอื่น ๆ ของโลก
            เขตอบอุ่น อยู่ระหว่างเส้นทรอปิคออฟแคนเซอร์ (ละติจูด 23.5° เหนือ) กับเส้นอาร์คติกเซอร์เคิล (ละติจูด 66.5° เหนือ) และพื้นที่ระหว่างเส้นทรอปิคออฟแคปริคอน (ละติจูด 23.5° ใต้) กับเส้นแอนตาร์คติกเซอร์เคิล (ละติจูด 66.5° ใต้) แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นโลกเป็นมุมเฉียง แม้ว่าไม่มีโอกาสที่ดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือศีรษะ แต่ก็ยังได้รับแสงอาทิตย์ตลอดปี
            เขตหนาว อยู่เหนือเส้นอาร์คติกเซอร์เคิล (ละติจูด 66.5° เหนือ) ขึ้นไป และใต้เส้นแอนตาร์คติกเซอร์เคิล (ละติจูด 66.5° ใต้) ลงมา แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นโลกเป็นมุมลาด มีโอกาสได้รับแสงอาทิตย์ในช่วงฤดูหนาวน้อยมาก
          แต่เนื่องจากโลกมิใช่ทรงกลมที่สมบูรณ์ และมีพื้นผิวไม่ราบเรียบ มีทั้งที่ราบ ภูเขา หุบเขา ทะเล มหาสมุทร และถูกปกคลุมด้วยสิ่งปกคลุมและพืชพรรณต่างๆ กัน เราจึงแบ่งเขตภูมิอากาศโลก โดยพิจารณาปัจจัยที่ควบคุมสภาพภูมิอากาศ ดังนี้
            ความเข้มของแสงแดด ซึ่งแปรผันตามละติจูด แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นผิวบริเวณศูนย์สูตรเป็นมุมชันกว่าบริเวณขั้วโลก ความเข้มของแสงจึงมากกว่า ประกอบกับแสงอาทิตย์เดินทางผ่านชั้นบรรยากาศบริเวณศูนย์สูตร เป็นระยะทางสั้นกว่าผ่านชั้นบรรยากาศบริเวณขั้วโลก เพราะฉะนั้นยิ่งละติจูดสูงขึ้นไป ความเข้มของแสงแดดยิ่งน้อย อุณหภูมิยิ่งต่ำ
            การกระจายตัวของแผ่นดิน และมหาสมุทร พื้นดินและพื้นน้ำมีความสามารถดูดกลืนและคายความร้อนไม่เท่ากัน จึงมีผลต่อความกดอากาศ ตลอดจนทิศทางและความเร็วลม
กระแสน้ำในมหาสมุทร กระแสน้ำมีความสัมพันธ์กับกระแสลมผิวพื้น อุณหภูมิของน้ำทะเลมีผลต่ออุณหภูมิและความชื้นของอากาศ กระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นจึงมิอิทธิพลต่ออุณหภูมิของอากาศผิวพื้นโดยตรง
            กระแสลมจากมหาสมุทร ลมเป็นตัวถ่ายเทความร้อนของบรรยากาศ กระแสลมในมหาสมุทรสามารถหอบเอาไอน้ำจากมหาสมุทร มาทำความชุ่มชื่นให้กับตอนในของทวีป
            ตำแหน่งของหย่อมความกดอากาศต่ำ และหย่อมความกดอากาศสูง เป็นตัวกำหนดการเคลื่อนที่ของอากาศทั้งแนวดิ่งและแนวตั้ง ความกดอากาศต่ำทำให้เกิดเมฆและหยาดน้ำฟ้า ความกดอากาศสูงทำให้ท้องฟ้าโปร่ง แรงเกรเดียนความกดอากาศซึ่งเกิดจากความแตกต่างของความกดอากาศ ทำให้เกิด
กระแสลม
            เทือกเขา เป็นกำแพงขวางกั้นทิศทางลม เมื่อลมปะทะกับเทือกเขาจะเกิดการยกตัวของกลุ่มอากาศ และเกิดการควบแน่นเป็นเมฆและหยาดน้ำฟ้า ทำให้ด้านหน้าของเทือกเขามีความชุ่มชื้น อากาศแห้งจมลงด้านหลังเขา เกิดเป็นเขตเงาฝนที่แห้งแล้ง
            ระดับสูงของพื้นที่ ยิ่งสูงขึ้นอุณหภูมิยิ่งต่ำลง ณ ตำแหน่งละติจูดเดียวกัน พื้นที่สูงจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นที่ราบ
การจำแนกภูมิอากาศโลก
          ในปี ค.ศ.1918 วลาดิเมียร์ เคิปเปน (Vladimir Kóppen) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอร์มัน ได้จำแนกภูมิอากาศโลกโดยใช้เกณฑ์อุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนและปริมาณหยาดน้ำฟ้า โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ดังนี้
          A    ภูมิอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร ทุกเดือนมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 18°C ไม่มีฤดูหนาว
          B    ภูมิอากาศแห้ง อัตราการระเหยของน้ำมากกว่าหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมา
          C    ภูมิอากาศอบอุ่นชื้นแถบละติจูดกลาง ฤดูร้อนอากาศอบอุ่น ฤดูหนาวไม่หนาวมาก อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า 18°C และสูงกว่า -3°C
          D    ภูมิอากาศชื้นภาคพื้นทวีป ฤดูร้อนอากาศเย็น ฤดูหนาวหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดไม่ต่ำกว่า 10°C อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า -3°C
          E    ภูมิอากาศขั้วโลก อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดต่ำกว่า 10°C
          H    ภูมิอากาศแถบภูเขาสูง เป็นลักษณะภูมิอากาศหลายแบบรวมกัน ตามระดับสูงของภูเขา (กำหนดโดยนักวิทยาศาสตร์ในสมัยต่อมา)
ภูมิอากาศแถบร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร (Tropical Moist Climates) : A
          เป็นบริเวณที่มีอากาศร้อนชื้น ทุกๆ เดือนมีอุณหภูมิเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 18°C และมีฝนตกมากกว่า 150 เซนติเมตร กลางวันมีอุณหภูมิเฉลี่ย 32°C กลางคืนมีอุณหภูมิเฉลี่ย 22°C กลางวันและกลางคืนมีอุณหภูมิไม่แตกต่างกันมาก เนื่องจากอยู่ในแนวปะทะอากาศเขตร้อน (ITCZ) จึงมีการก่อตัวของเมฆคิวมูลัส และเมฆคิวมูโลนิมบัส ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองในช่วงบ่ายและเย็น สภาพอากาศจะสงบท้องฟ้าใสหลังจากที่ฝนตกลงมา เนื่องจากความชื้นสูงมีไอน้ำในอากาศจำนวนมาก จึงมักมีการควบแน่นเกิดน้ำค้างและหมอกปกคลุมพื้นดินเวลากลางคืน มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,500 มิลลิเมตรต่อปี








ภาพที่ 2 ภูมิอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร

          พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 25° เหนือ - 25° ใต้ ได้แก่ ลุ่มน้ำอเมซอนในประเทศบราซิล ลุ่มน้ำคองโกในตอนกลางของทวีปแอฟริกา หมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย พื้นที่บางส่วนปกคลุมด้วยป่าฝนเขตร้อน (Tropical rain forest) มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ป่าฝนเขตร้อนมีพื้นที่เพียง 7% ของโลก แต่มีสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก
ภูมิอากาศแห้ง (Dry Climates) : B
          เป็นบริเวณที่อากาศแห้ง ปริมาณการระเหยของน้ำมากกว่าปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมา ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นผิวมีความเข้มแสงมากกว่า 90% กลางวันมีอุณหภูมิสูงกว่า 38°C (50° ในช่วงฤดูร้อน) กลางคืนอาจจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง (-15°C ในช่วงฤดูหนาว) กลางวันและกลางคืนมีอุณหภูมิต่างกันมาก ปริมาณน้ำฝนในรอบปีเพียงประมาณ 5 เซนติเมตร บางปีอาจไม่มีฝนตกเลย








 ภาพที่ 3 ภูมิอากาศแห้ง

          พื้นที่ในเขตนี้กินอาณาบริเวณถึง 30% ของพื้นทวีปทั้งหมดของโลก อยู่ระหว่างละติจูดที่ 20° - 30° เหนือและใต้ โดยมากจะเป็นทะเลทรายบนที่ราบซึ่งห้อมล้อมด้วยเทือกเขา ได้แก่ ทะเลทรายซาฮาร่าในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ ทะเลทรายโกบีในประเทศจีน มีความแห้งแล้งเนื่องจากอยู่ในบริเวณแถบความกดอากาศสูงกึ่งศูนย์สูตร ซึ่งเกิดจากมวลอากาศแห้งปะทะกันแล้วจมตัวลง
 ภูมิอากาศอบอุ่นชื้นแถบละติจูดกลาง (Moist subtropical mid-lattitude climate) : C
          เป็นบริเวณที่ฤดูร้อนและฤดูหนาวมีอุณหภูมิไม่แตกต่างกันมาก เพราะว่ามีอากาศชื้นตลอดทั้งปีเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ใกล้ทะเลและมหาสมุทร อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า 18°C และสูงกว่า -3°C แบ่งย่อยออกเป็น








ภาพที่ 4 ภูมิอากาศแถบละติจูดกลาง

            ภูมิอากาศแถบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean climates) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่รอบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และตอนเหนือของทวีปยุโรป เป็นเขตที่มีฝนตกน้อย พืชพรรณเป็นพุ่มเตี้ย มักเกิดไฟป่าในช่วงฤดูร้อน และมีฝนตกในช่วงฤดูหนาว
            ภูมิอากาศแถบอบอุ่น (Temperate climates) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 25° - 40° เหนือ ได้แก่ ทวีปยุโรปตอนกลาง และซีกตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน เป็นบริเวณที่ฤดูกาลทั้งสี่มีความแตกต่างอย่างเด่นชัด ปริมาณน้ำฝนในรอบปีประมาณ 500 - 1,500 มิลลิเมตร
ภูมิอากาศชื้นภาคพื้นทวีป (Humid continental climates) : D
          ลมเวสเทอลีส์พัดมาจากมหาสมุทรทางด้านตะวันตก นำความชื้นเข้ามาสู่ภาคพื้นทวีปซึ่งอยู่ตอนใน เนื่องจากอยู่ในเขตละติจูดสูง อากาศจึงหนาวเย็นในช่วงฤดูร้อน (อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดไม่ต่ำกว่า 10°C) และมีสภาพอากาศรุนแรงในช่วงฤดูหนาว อากาศหยาวเย็นปกคลุมนานถึง 9 เดือน (อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า -3°C) ซึ่งทำให้น้ำแข็งจับตัวภายในดิน ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ช้า







ภาพที่ 5 ภูมิอากาศชื้นภาคพื้นทวีป

          พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในอยู่ระหว่างละติจูดที่ 40° - 60° เหนือ ของทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย ในแถบความกดอากาศต่ำกึ่งขั้วโลก แนวปะทะอากาศขั้วโลกทำให้เกิดการยกตัว ทำให้เกิดการควบแน่นของหยาดน้ำฟ้าช่วยให้พื้นดินมีความชื้น (หมายเหตุ: ภูมิอากาศชื้นภาคพื้นทวีปไม่มีในเขตซีกโลกใต้ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของละติจูดนี้ในซีกโลกใต้ ส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร ไม่มีพื้นทวีปขนาดใหญ่)
ภูมิอากาศขั้วโลก (Polar Climates) : E
          มีอากาศแห้ง ลมแรง และหนาวเย็นตลอดทั้งปี ฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูงกว่าจุดน้ำแข็งเพียงแค่ 2-4 เดือน (ต่ำกว่า 10°C) มีฤดูหนาวที่ยาวนาน และมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่เหนือเส้นอาร์คติกเซอร์เคิล (66.5°เหนือ) ขึ้นไป และใต้เส้นแอนตาร์คติกเซอร์เคิล (66.5°ใต้) ลงมา บริเวณใกล้กับขั้วโลกเช่น           เกาะกรีนแลนด์และทวีปแอนตาร์กติกมีแผ่นน้ำแข็งถาวรหนาหลายร้อยเมตรปกคลุม พื้นมหาสมุทรเต็มไปด้วยภูเขาน้ำแข็ง พื้นทวีปในส่วนที่ห่างไกลจากขั้วโลก น้ำในดินแข็งตัวอย่างถาวร พืชส่วนใหญ่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ มีแต่หญ้าและป่าสน

ภาพที่ 6 ภูมิอากาศขั้วโลก

ภูมิอากาศแถบภูเขาสูง (Highland Climates) : H

          เป็นลักษณะภูมิอากาศหลายแบบรวมกันขึ้นอยู่กับระดับสูงของพื้นที่ บนยอดเขาสูงมีความหนาวเย็นคล้ายคลึงกับภูมิอากาศขั้วโลก หากแต่มีความชื้นสูงซึ่งเกิดจากอากาศยกตัวและควบแน่น สภาพลมฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ภูมิอากาศแบบนี้ปกคลุมพื้นที่เล็กๆ ตามเทือกเขาสูงของโลก เช่น เทือกเขาหิมาลัยในทวีปเอเชีย เทือกเขาเซียร์ราเนวาดา
          ในทวีปอเมริกาเหนือ และเทือกเขาแอนดิสในทวีปอเมริกาใต้ ชนิดของพืชพรรณตามไหล่เขา เปลี่ยนไปตามสภาพภูมิอากาศซึ่งแตกต่างกันทุกๆ ระยะสูงที่เพิ่มขึ้น 300 เมตร เช่น บริเวณตีนเขาอาจเป็นไม้ผลัดใบ สูงขึ้นมาเป็นป่าสน และไม้แคระ ยอดเขาปกคลุมด้วยธารน้ำแข็ง



 ภาพที่ 7 ภูมิอากาศแถบภูเขาสูง



การแบ่งเขตภูมิอากาศ
เขตภูมิอากาศของโลก
ภูมิอากาศ (Climate)” หมายถึง สภาวะอากาศของทวีป ประเทศ เมือง หรือท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นลักษณะอากาศที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลายาวนาน จึงจัดได้ว่าเป็นตัวแทนของลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง ในบางครั้งเราเรียกว่า ภูมิอากาศประจำถิ่น“(Topoclimate) ข้อมูลภูมิอากาศได้มาจากการตรวจอากาศประจำวันและนำข้อมูลที่ได้มาทำการบันทึกติดต่อกันเป็นเวลานาน และจึงนำมาหาค่าเฉลี่ยอีกครั้งหนึ่ง โดยข้อมูลที่จัดเก็บได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน เมฆ และลม ร่วมกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ อันได้แก่ ทัศนวิสัย แสงแดด พายุหมุน เป็นต้น ส่วนคำว่า ลมฟ้าอากาศ”(Weather)” หมายถึง สภาวะอากาศที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งในพื้นที่แห่งหนึ่ง เป็นสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงระยะเวลาต่างๆ ในรอบปี
โดยสรุปคือ ภูมิอากาศเป็นสภาวะอากาศเฉลี่ยประจำพื้นที่ ส่วนลมฟ้าอากาศคือสภาพอากาศในช่วงระยะเวลาต่างๆ ภูมิอากาศ เป็นปัจจัยที่สำคัญทางภูมิศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีผลต่อชีวิตมนุษย์ เนื่องจากเป็นตัวกำหนดว่ากิจกรรมทั้งทางกายภาพและด้านเศรษฐกิจสังคมของมนุษย์ แต่จากลักษณะสภาพทั่วไปของพื้นผิวโลกที่มีความแตกต่างกัน มีผลทำให้ลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันไป ซึ่งปัจจัยที่ควบคุมสภาพภูมิอากาศ มีหลายปัจจัย เช่น ความเข้มของแสงแดด กระแสน้ำในมหาสมุทร กระแสลมจากมหาสมุทร เทือกเขา ระดับสูงของพื้นที่ เป็นต้น


การจำแนกภูมิอากาศ
การแบ่งเขตภูมิอากาศทำได้หลายวิธีโดยอาศัยองค์ประกอบของอากาศทางด้านต่างๆ เช่น อุณหภูมิ หยาดน้ำฟ้า ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ แนวปะทะของมวลอากาศ และลักษณะดิน โดยการแบ่งเขตภูมิอากาศของโลกจะเน้นเฉพาะบนภาคพื้นดินเท่านั้น เนื่องจากบนพื้นน้ำความแตกต่างของอุณหภูมิมีไม่มากนัก สำหรับการจำแนกภูมิอากาศของโลกมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การจำแนกโดยใช้เกณฑ์จากอุณหภูมิ ปริมาณฝน ลักษณะพืชพรรณ เป็นต้น ในปี ค.ศ.1918 วลาดิเมียร์ เคิปเปน (Vladimir Kóppen) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอร์มัน ได้จำแนกภูมิอากาศโลกโดยใช้เกณฑ์อุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนและปริมาณหยาดน้ำฟ้า โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ดังนี้
A ภูมิอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร ทุกเดือนอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 18°C
B ภูมิอากาศแห้งแล้ง ฝนตกน้อย อัตราการระเหยของน้ำมาก
C ภูมิอากาศอบอุ่น ฤดูร้อนอากาศอบอุ่น ฤดูหนาวไม่หนาวมาก อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า 18°C และสูงกว่า -3°C
D ภูมิอากาศหนาวเย็น ฤดูร้อนอากาศเย็น ฤดูหนาวหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดไม่ต่ำกว่า 10°C อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า -3°C
E ภูมิอากาศขั้วโลก อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดต่ำกว่า 10°C
ภูมิอากาศร้อนชื้น (Tropical Climates) : A
เป็นบริเวณที่มีอากาศร้อนชื้น มีฝนตกมากกว่า 1,500 มิลลิเมตรและทุกๆ เดือนมีอุณหภูมิเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 18°C กลางวันและกลางคืนมีอุณหภูมิไม่แตกต่างกันมาก โดยกลางวันมีอุณหภูมิเฉลี่ย 32°C กลางคืนมีอุณหภูมิเฉลี่ย 22°C ความชื้นสูงมีไอน้ำในอากาศจำนวนมาก จึงมักมีการควบแน่นเกิดน้ำค้างและหมอกปกคลุมพื้นดินเวลากลางคืน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 25° เหนือ ถึง 25° ใต้ ได้แก่ ลุ่มน้ำอเมซอนในประเทศบราซิล ลุ่มน้ำคองโกในตอนกลางของทวีปแอฟริกา หมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย พื้นที่บางส่วนปกคลุมด้วยป่าฝนเขตร้อน (Tropical Rain Forest) มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่งป่าฝนเขตร้อนนั้นมีพื้นที่เพียง 7% ของโลก แต่มีสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก

ประชาคมโลก
(Global Community)
ภูมิศาสตร์และสภาวะแวดล้อมโลก
เขตภูมิอากาศของโลก
ภูมิอากาศ (Climate)” หมายถึง สภาวะอากาศของทวีป ประเทศ เมือง หรือท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นลักษณะอากาศที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลายาวนาน จึงจัดได้ว่าเป็นตัวแทนของลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง ในบางครั้งเราเรียกว่า ภูมิอากาศประจำถิ่น“(Topoclimate) ข้อมูลภูมิอากาศได้มาจากการตรวจอากาศประจำวันและนำข้อมูลที่ได้มาทำการบันทึกติดต่อกันเป็นเวลานาน และจึงนำมาหาค่าเฉลี่ยอีกครั้งหนึ่ง โดยข้อมูลที่จัดเก็บได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน เมฆ และลม ร่วมกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ อันได้แก่ ทัศนวิสัย แสงแดด พายุหมุน เป็นต้น ส่วนคำว่า ลมฟ้าอากาศ”(Weather)” หมายถึง สภาวะอากาศที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งในพื้นที่แห่งหนึ่ง เป็นสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงระยะเวลาต่างๆ ในรอบปี
โดยสรุปคือ ภูมิอากาศเป็นสภาวะอากาศเฉลี่ยประจำพื้นที่ ส่วนลมฟ้าอากาศคือสภาพอากาศในช่วงระยะเวลาต่างๆ ภูมิอากาศ เป็นปัจจัยที่สำคัญทางภูมิศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีผลต่อชีวิตมนุษย์ เนื่องจากเป็นตัวกำหนดว่ากิจกรรมทั้งทางกายภาพและด้านเศรษฐกิจสังคมของมนุษย์ แต่จากลักษณะสภาพทั่วไปของพื้นผิวโลกที่มีความแตกต่างกัน มีผลทำให้ลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันไป ซึ่งปัจจัยที่ควบคุมสภาพภูมิอากาศ มีหลายปัจจัย เช่น ความเข้มของแสงแดด กระแสน้ำในมหาสมุทร กระแสลมจากมหาสมุทร เทือกเขา ระดับสูงของพื้นที่ เป็นต้น
การจำแนกภูมิอากาศ
การแบ่งเขตภูมิอากาศทำได้หลายวิธีโดยอาศัยองค์ประกอบของอากาศทางด้านต่างๆ เช่น อุณหภูมิ หยาดน้ำฟ้า ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ แนวปะทะของมวลอากาศ และลักษณะดิน โดยการแบ่งเขตภูมิอากาศของโลกจะเน้นเฉพาะบนภาคพื้นดินเท่านั้น เนื่องจากบนพื้นน้ำความแตกต่างของอุณหภูมิมีไม่มากนัก สำหรับการจำแนกภูมิอากาศของโลกมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การจำแนกโดยใช้เกณฑ์จากอุณหภูมิ ปริมาณฝน ลักษณะพืชพรรณ เป็นต้น ในปี ค.ศ.1918 วลาดิเมียร์ เคิปเปน (Vladimir Kóppen)
นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอร์มัน ได้จำแนกภูมิอากาศโลกโดยใช้เกณฑ์อุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนและปริมาณหยาดน้ำฟ้า โดยใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ดังนี้
A ภูมิอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร ทุกเดือนอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 18°C
B ภูมิอากาศแห้งแล้ง ฝนตกน้อย อัตราการระเหยของน้ำมาก
C ภูมิอากาศอบอุ่น ฤดูร้อนอากาศอบอุ่น ฤดูหนาวไม่หนาวมาก อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า 18°C และสูงกว่า -3°C
D ภูมิอากาศหนาวเย็น ฤดูร้อนอากาศเย็น ฤดูหนาวหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดไม่ต่ำกว่า 10°C อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า -3°C
E ภูมิอากาศขั้วโลก อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดต่ำกว่า 10°C
ภูมิอากาศร้อนชื้น (Tropical Climates) : A
เป็นบริเวณที่มีอากาศร้อนชื้น มีฝนตกมากกว่า 1,500 มิลลิเมตรและทุกๆ เดือนมีอุณหภูมิเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 18°C กลางวันและกลางคืนมีอุณหภูมิไม่แตกต่างกันมาก โดยกลางวันมีอุณหภูมิเฉลี่ย 32°C กลางคืนมีอุณหภูมิเฉลี่ย 22°C ความชื้นสูงมีไอน้ำในอากาศจำนวนมาก จึงมักมีการควบแน่นเกิดน้ำค้างและหมอกปกคลุมพื้นดินเวลากลางคืน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 25° เหนือ ถึง 25° ใต้ ได้แก่ ลุ่มน้ำอเมซอนในประเทศบราซิล ลุ่มน้ำคองโกในตอนกลางของทวีปแอฟริกา หมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย พื้นที่บางส่วนปกคลุมด้วยป่าฝนเขตร้อน (Tropical Rain Forest) มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่งป่าฝนเขตร้อนนั้นมีพื้นที่เพียง 7% ของโลก แต่มีสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก
ภูมิอากาศแห้งแล้ง (Dry Climates) : B
เป็นบริเวณที่อากาศแห้ง ปริมาณการระเหยของน้ำมากกว่าปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมา ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง แสงอาทิตย์ตกกระทบพื้นผิวมีความเข้มแสงมากกว่า 90% กลางวันและกลางคืนมีอุณหภูมิต่างกันมาก โดยกลางวันมีอุณหภูมิสูงกว่า 38°C (50° ในช่วงฤดูร้อน) กลางคืนอาจจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง (-15°C ในช่วงฤดูหนาว) ปริมาณน้ำฝนในรอบปีเพียงประมาณ 50มิลลิเมตร บางปีอาจไม่มีฝนตกเลย

พื้นที่ในเขตนี้กินอาณาบริเวณถึง 30% ของพื้นทวีปทั้งหมดของโลก อยู่ระหว่างละติจูดที่ 20° - 30° เหนือและใต้ โดยมากจะเป็นทะเลทรายบนที่ราบซึ่งห้อมล้อมด้วยเทือกเขา ได้แก่ ทะเลทรายซาฮาร่าในทวีปแอฟริกาตอนเหนือ ทะเลทรายโกบีในประเทศจีน ทะเลทรายเหล่านี้มักจะประกอบด้วยดินทราย ซึ่งจะมีพืชบางประเภทเท่านั้นที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เช่น กระบองเพชร
ภูมิอากาศอบอุ่น (Mesothermal Climate) : C
เป็นบริเวณที่ฤดูร้อนและฤดูหนาวมีอุณหภูมิไม่แตกต่างกันมาก อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า 18°C และสูงกว่า -3°C แบ่งย่อยออกเป็น
ภูมิอากาศแถบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climates) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่รอบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนใต้ของทวีปยุโรป เป็นเขตที่มีฝนตกน้อย พืชพรรณเป็นพุ่มเตี้ย มักเกิดไฟป่าในช่วงฤดูร้อน และมีฝนตกในช่วงฤดูหนาว
ภูมิอากาศแถบอบอุ่น (Temperate Climates) พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 25° ถึง 40° เหนือ ได้แก่ ทวีปยุโรปตอนกลาง และซีกตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน เกาหลีเหนือ-ใต้ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ซีกตะวันออกของออสเตรเลียและอาร์เจนตินาและตอนใต้ของบราซิล เป็นบริเวณที่ฤดูกาลทั้งสี่ ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวมีความแตกต่างอย่างเด่นชัด ปริมาณน้ำฝนในรอบปีประมาณ 500 - 1,500 มิลลิเมตร ไม้ที่ขึ้นแถบนี้เป็นไม้เขตอบอุ่นซึ่งจะผลัดใบในฤดูหนาว
ภูมิอากาศหนาวเย็น (Microthermal Climates) : D
อากาศหนาวเย็นในช่วงฤดูร้อน (อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่อบอุ่นที่สุดไม่ต่ำกว่า 10°C) และมีสภาพอากาศรุนแรงในช่วงฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นปกคลุมนานถึง 9 เดือน (อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนที่หนาวที่สุดต่ำกว่า -3°C) ซึ่งทำให้น้ำแข็งจับตัวภายในดิน ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ช้า
พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในอยู่ระหว่างละติจูดที่ 40° ถึง 60° เหนือ ของทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปเหนือ(แถบสแกนดิเนเวีย ได้แก่ สวีเดน เดนมาร์ก นอร์เวย์และฟินแลนด์) และเอเชีย (สหพันธรัฐรัสเซีย) ป่าไม้ในเขตนี้ส่วนมากจะเป็นต้นไม้ไม่ผลัดใบที่ทนอากาศหนาวได้ อาทิ สนฉัตร สนสองใบ สนใบแหลม


ภูมิอากาศขั้วโลก (Polar Climates) : E
มีอากาศแห้ง ลมแรง และหนาวเย็นตลอดทั้งปี ฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูงกว่าจุดน้ำแข็งเพียงแค่ 2-4 เดือน (ต่ำกว่า 10°C) มีฤดูหนาวที่ยาวนาน และมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่เหนือเส้นอาร์คติกเซอร์เคิล (66.5°เหนือ) ขึ้นไป และใต้เส้นแอนตาร์คติกเซอร์เคิล (66.5°ใต้) ลงมา บริเวณใกล้กับขั้วโลก เช่น เกาะกรีนแลนด์และทวีปแอนตาร์กติกมีแผ่นน้ำแข็งถาวรหนาหลายร้อยเมตรปกคลุม พื้นมหาสมุทรเต็มไปด้วยภูเขาน้ำแข็ง พื้นทวีปในส่วนที่ห่างไกลจากขั้วโลก น้ำในดินแข็งตัวอย่างถาวร พืชส่วนใหญ่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้
ความสัมพันธ์กับมนุษย์กับลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ประชากรโลกปัจจุบันมีประมาณ 6,300 ล้านคน แต่ไม่ได้กระจายสม่ำเสมอบนพื้นโลก แต่จะอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นเพียงบางเขต ในขณะที่บางบริเวณมีประชากรอาศัยอยู่น้อยมากหรืออาจไม่มีเลย ประชากรโลกมากกว่าครึ่งอาศัยอยู่ในชนบท และอาศัยอยู่ในเมืองเพียง 30% ถึง 40% และปัจจุบันมีการเติบโตของประชากรในเขตเมืองอย่างต่อเมืองและรวดเร็วกว่าเขตชนบทมาก
การกระจายของประชากรโลกโดยทั่วไปสรุปได้ดังนี้
ประชากรเกือบ 90% ของโลกอาศัยอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร และประมาณ 2 ใน 3 ของประชากรโลกอยู่ในเขตละติจูดกลาง (20 ถึง 60 องศาเหนือ)
ประชากรโลกส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นในพื้นที่เล็กๆ ซึ่ง 9 ใน 10 ของประชากรโลกใช้พื้นที่อาศัยเพียง 20% ของพื้นที่โลก
ประชากรส่วนใหญ่อาศัยในพื้นที่ราบลุ่มมากกว่าพื้นที่สูง สาเหตุเพราะพื้นที่สูงมีข้อจำกัดต่อการตั้งถิ่นฐาน เช่น อุณหภูมิ ความยาวนานของฤดูกาลเพาะปลูก ความ ลาดชัน การชะล้างพังทลายของดิน เป็นต้น ประมาณว่าประชากร 50-60% อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงเพียง 20 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และประชากรเกือบ 80% อาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับ 500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง
ประชากรตั้งถิ่นฐานบริเวณขอบทวีปหนาแน่นมากที่สุด โดยประชากร 2 ใน 3 ของโลกอาศัยอยู่ห่างจากมหาสมุทรไม่เกิน 500 กิโลเมตร และมักอาศัยอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำตะกอนพัดพา ส่วนพื้นที่บริเวณละติจูดสูงที่หนาวเย็น เขตแห้งแล้ง และเขตที่สูง แม้จะอยู่ใกล้ทะเลแต่มนุษย์ก็ไม่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณเหล่านั้น รวมถึงป่าฝนเขตร้อนที่รกทึบและชื้นแฉะก็มีคนอาศัยอยู่น้อยเช่นกัน
การกระจายของประชากรในภูมิภาคต่างๆ ของโลกอาจจำแนกความแตกต่างได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
บริเวณที่มีประชากรหนาแน่น
การกำหนดว่าบริเวณใดเป็นบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นนั้นถือเกณฑ์เฉลี่ยจำนวนประชากรมากว่า 75 คนต่อตารางกิโลเมตรขึ้นไป ดังนั้นเขตที่ประชากรหนาแน่นของโลก จึงมีอยู่บางพื้นที่เท่านั้น ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นบริเวณที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ มีภูมิประเทศเหมาะแก่การเกษตร อุตสาหกรรมและการคมนาคมขนส่ง เป็นแหล่งที่มีวัตถุดิบทางอุตสาหกรรมและมีสภาพ ภูมิประเทศอากาศไม่รุนแรง คือ ไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัด เหมาะแก่การอยู่อาศัยและการดำเนินชีวิต การเพิ่มประชากรจึงเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว บริเวณที่มีประชากรหนาแน่นของโลกในปัจจุบันจึงปรากฏในเขตเกษตรกรรมและเขตอุตสาหกรรม
เขตเกษตรกรรม เป็นบริเวณที่ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับการเกษตร คือ การเพาะปลูกพืชอาหาร และการเลี้ยงสัตว์เขตเกษตรกรรมที่มีประชากรหนาแน่นของโลกในปัจจุบัน มีดังนี้
บริเวณเอเชียใต้ โดยเฉพาะประเทศบังกลาเทศ อินเดียและปากีสถานเป็นแหล่งที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมาก คือ ในเนื้อที่ 1 ตารางกิโลเมตรมีประชากรเฉลี่ย 925 คน 320 คนและ 180 คน ตามลำดับ ประชากรในเอเชียใต้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรจึงอาศัยอยู่หนาแน่นในเขตที่ราบมีน้ำและดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร ได้แก่ เขตที่ราบลุ่มน้ำสินธุ คงคา พรหมบุตรและสาขาของแม่น้ำดังกล่าว โดยแม่น้ำสำคัญ 3 สายนี้มีที่ราบ ดินตะกอนที่มีอาณาเขตต่อเนื่องกันอย่างกว้างขวางและอีกบริเวณหนึ่งที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นในเอเชียใต้ ได้แก่ เขตที่ราบชายฝั่งของมหาสมุทรอินเดีย
บริเวณลุ่มน้ำฮวงโหและลุ่มน้ำแยงซีเกียง และชายฝั่งตะวันออกของจีน เป็นบริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เพราะเป็นแหล่งเกษตรกรรมดั้งเดิม ปัจจุบันประชากรจีนส่วนใหญ่ก็ยังอาศัยในบริเวณดังกล่าว โดยมีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ยทั้งประเทศประมาณ 133 คน ต่อตารางกิโลเมตร
บริเวณอื่น ๆ เช่น บริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ ในประเทศอียิปต์ซึ่งเป็นราบลุ่มน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ บริเวณเกาะชวาประเทศอินโดนีเซียเป็นแหล่งดินอุดมสมบูรณ์ที่เกิดจากเถ้าถ่านของภูเขาไฟและมีฝนตกชุกจากอิทธิพลของลมมรสุม เป็นต้น
เขตอุตสาหกรรมของโลกที่เป็นแหล่งที่มีประชากรหนาแน่นมี ดังนี้
ยุโรปตะวันตก ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และ สหราชอาณาจักร มีวัตถุดิบที่ส่งเสริมด้านอุตสาหกรรม เช่น เหล็ก ถ่านหิน ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ยุโรปตะวันตกพัฒนาเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของโลก บริเวณนี้จึงมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ ประชากรมากกว่าล้านคนหลายเมือง เช่น ปารีส บรัสเซลส์ ฮัมบูร์ก มิวนิก เบอร์ลิน โคโลญ อัมสเตอร์ ลอนดอน เบอร์มิงแฮม เป็นต้น
บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งเสริมการอุตสาหกรรมอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ ได้แก่ เหล็กและถ่านหิน จึงช่วยให้การพัฒนาอุตสาหกรรมในบริเวณนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เมืองอุตสาหกรรมในเขตนี้ที่เป็นชุมชนใหญ่มีหลายเมือง เช่น นิวยอร์ก ชิคาโก ดีทรอยต์ ฟิลาเดลเฟีย เป็นต้น
ประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศหนึ่งในทวีปเอเชียที่มีอัตราความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ยต่อเนื้อที่สูงมาก คือ มีอัตราความหนาแน่นเฉลี่ย 336 คนต่อตารางกิโลเมตร โดยเศรษฐกิจหลักของญี่ปุ่นขึ้นอยู่กับกิจการอุตสาหกรรม แม้ว่าญี่ปุ่นจะมีทรัพยากรที่ใช้ในด้านอุตสาหกรรมน้อย เช่น เหล็ก ถ่านหิน และวัตถุดิบอื่น ๆ แต่ญี่ปุ่นมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า จึงสามารถนำทรัพยากรและวัตถุดิบจากต่างประเทศมาผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและส่งออกมาเป็นลำดับ 2 ของโลกรองจากประเทศสหรัฐอเมริกา แหล่งประชากรหนาแน่นมากของประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ โตเกียว นาโกยา เกียวโต และโอซากา
บริเวณอื่น ๆ ที่มีเศรษฐกิจหลักขึ้นอยู่กับภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจการค้าหรือบริการ ได้แก่ ประเทศที่มีเนื้อที่น้อย เช่น ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งสภาพเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม ธุรกิจการค้า และการท่องเที่ยวที่ความหนาแน่นของประชากร 1,266 คน ต่อตารางกิโลเมตร เป็นต้น
บริเวณที่มีประชากรค่อนข้างหนาแน่น
บริเวณที่มีประชากรค่อนข้างหนาแน่น หมายถึง บริเวณที่มีประชากรเฉลี่ยระหว่าง 25-75 คนต่อตารางกิโลเมตร มักเป็นบริเวณที่มีสภาพเศรษฐกิจหลักขึ้นอยู่กับการเกษตร ดินแดนที่มีประชากรค่อนข้างหนาแน่นของโลกมักปรากฏใน 2 บริเวณ ได้แก่ เขตทุ่งหญ้าและเขตชายฝั่งทะเล

เขตทุ่งหญ้าที่มีประชากรหนาแน่นของโลก จำแนกได้ 2 บริเวณ ดังนี้
ทุ่งหญ้าสะวันนา ได้แก่ พื้นที่บางส่วนของทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ เขตทุ่งหญ้าสะวันนาที่มีประชากรอาศัยอยู่ค่อนข้างหนาแน่น ได้แก่ ประเทศบราซิล ชิลี กัวเตมาลา และฮอนดูรัส เป็นประเทศเกษตรกรรมที่ใช้วิธีการเกษตรแบบขยาย (extensive cultivation) คือ ใช้เนื้อที่กว้างขวางแต่มีการใช้แรงงานคนหรือสัตว์น้อย เพื่อให้สามารถประกอบการให้ได้ผลผลิตสูงสุด จึงต้องใช้วิทยาการในการคัดเลือกและบำรุงพันธุ์พืชและสัตว์ และเครื่องใช้จักรกลในการบุกเบิก ไถ คราด เพาะปลูก บำรุงรักษาและเก็บเกี่ยวพืชเศรษฐกิจที่เพาะปลูกในเขตทุ่งหญ้านี้ ได้แก่ ข้าวโพด อ้อย และยาสูบ
ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น ดินแดนที่มีประชากรค่อนข้างหนาแน่นในเขตอบอุ่น ได้แก่ ทุ่งหญ้าสเตปป์ในสาธารณรัฐยูเครน ทุ่งหญ้าแพร์รี่ในทวีปอเมริกาเหนือ ทุ่งหญ้าปามปัสในประเทศอาร์เจนตินา ทุ่งหญ้าดาวน์แลนด์ในประเทศออสเตรเลีย เขตทุ่งหญ้าเหล่านี้เป็นแหล่งปลูกข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวโอ๊ตและข้าวบาร์เล่ย์ ส่วนบริเวณที่มีปริมาณฝนน้อย เป็นแหล่งเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญ ได้แก่ โคเนื้อ แพะ และแกะ § เขตชายฝั่งทะเล ที่มีประชากรค่อนข้างหนาแน่นของโลกมี 2 บริเวณ ดังนี้
ชายฝั่งทะเลเขตร้อน ได้แก่ ดินแดนชายฝั่งทะเลในเขตละติจูดต่ำของทวีปเอเชีย แอฟริกาและอเมริกาใต้ ซึ่งมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ แต่มีการบุกเบิกเพื่อใช้เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อย กาแฟ ยางพารา และปาล์มน้ำมัน
ชายฝั่งทะเลเขตอบอุ่น ได้แก่ ชายฝั่งตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา ตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศออสเตรเลีย ตอนกลางของประเทศชิลี ชายฝั่งของประเทศอาร์เจนตินา พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวโพด ข้าวสาลีหรือพืชผลเมดิเตอร์เรเนียน แต่มีอาณาเขตไม่กว้างขวางมากนักและมีผลผลิตค่อนข้างสูงเพียงพอต่อการบริโภคของประชากรในเขตนี้