วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พืชพรรณชนิดต่างๆ (Vegetation)
คำว่าพืชพรรณ (Vegetation) หมายถึงอะไร
พืชพรรณเป็นคำที่ใช้เรียกรวมพืชชนิดต่างๆที่ปกคลุมพื้นที่ๆหนึ่ง หรืออาจจะหมายถึงพืชโดยรวมที่อยู่บนพื้นผิวของโลกทั้งโลกก็ได้
พืชพรรณตามธรรมชาติ (natural vegetation) หมายถึงพืชที่อยู่ในพื้นที่หนึ่งเองอยู่แล้วโดยธรรมชาติ และไม่ได้มีกิจกรรมของมนุษย์เข้าไปแทรกแซง เนื่องจากโลกเราเหลือพืชพรรณตามธรรมชาติเพียงน้อยนิดที่ยังคงไม่ถูกมนุษย์เข้าไปแทรกแซง เราจึงใช้คำว่า พืชพรรณตามธรรมชาติเพื่อหมายถึงพืชพรรณทุกชนิดที่ไม่ได้ถูกจัดการหรือดูแลโดยมนุษย์หรือกิจกรรมทางการเกษตร
โลกเรามีเขตพืชพรรณ (vegetation region) ทั้งหมดสี่ประเภท ซึ่งแบ่งจากพืชพรรณที่พบเห็นได้มากในเขตนั้นๆ เขตพืชพรรณต่างๆคือ ป่าไม้ (forest) ทุ่งหญ้า (grassland) ทะเลทราย (desert) และทุนดร้า (tundra)
ป่าไม้ (forest) คืออะไร
ป่าไม้คือบริเวณกว้างใหญ่ที่ปกคลุมไปด้วยต้นไม้หนาแน่น โดยที่ใบของต้นให้ร่มเงากับพื้นดินเกือบหมด มีต้นไม้สี่ประเภทใหญ่ๆที่สามารถพบเห็นได้ในเขตป่าไม้ คือ
ไม้ใบใหญ่ (broadleaf)
ไม้ผลัดใบ (deciduous)
ไม้ไม่ผลัดใบ (evergreen)
ไม้สน (coniferous)
ต้นไม้บางชนิดอาจถูกจัดไว้ในมากกว่าหนึ่งประเภท ยกตัวอย่างเช่นต้นเมเปิ้ล (Maple tree) ซึ่งเป็นทั้งไม้ใบใหญ่และไม้ผลัดใบ
ไม้ใบใหญ่ (broadleaf) เป็นต้นไม้ที่มีใบแบนใหญ่ ซึ่งต้นไม้ประเภทนี้เป็นประเภทที่มีหลากหลายสายพันธุ์มากที่สุดในโลก ตัวอย่างคือ ต้นแอช (Ash) ต้นเอล์ม (Elm) ต้นเมเปิ้ล (Maple) ต้นโอ๊ค (Oak) ต้นหลิว (Willow) ต้นมะฮอกกานี (Mahogany) ต้นโกงกาง (Mangrove) ต้นบีช และต้นคอตตอนวู๊ด (Cottonwood) ต้นไม้เหล่านี้สามารถพบเห็นได้ทางตอนใต้ของประเทศแคนาดา ตอนใต้ของไซบีเรีย และในบางบริเวณทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา
ไม้ผลัดใบ (deciduous) จะผลัดใบในบางช่วงของปี ซึ่งโดยปรกติแล้วจะเป็นในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ตัวอย่างของต้นไม้ประเภทนี้คือ ต้นแอสเพน (Aspen) ต้นเมเปิ้ล (Maple) ต้นโอ๊ค (Oak) ต้นแอช (Ash) ต้นบีช ต้นฮิคเกอรี (Hickory) และต้นเบิร์ช (Birch) ใบของต้นไม้ผลัดใบจะเปลี่ยนเป็นสีสันสดใส อย่างสีแดง ส้ม และเหลือง ก่อนที่จะร่วงลงสู่พื้นดิน

ไม้ไม่ผลัดใบ (evergreen) เป็นต้นไม้ที่มีใบขึ้นมาทดแทนและเป็นสีเขียวอยู่ตลอดปี ไม้ไม่ผลัดใบมีมากถึงประมาณ 500 สายพันธุ์ ตัวอย่างของไม้ไม่ผลัดใบคือ ต้นเฮมล๊อค (Hemlock) ต้นสน (pine) ต้นสนเรดวูด (redwood) และต้นซีดาร์ (Cedar)

พืชพรรณธรรมชาติของโลก


โดยทั่วไปลักษณะพืชพรรณธรรมชาติของโลกจะมีความแตกต่างกัน แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยการควบคุมหลายอย่าง เช่น  ลักษณะภูมิประเทศ  ลักษณะภูมิอากาศ  ลักษณะและสภาพดิน  เป็นต้น  โดยจะมีการจำแนกเขตพืชพรรณธรรมชาติของโลก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
-เขตทุ่งน้ำแข็ง เป็นเขตที่ไม่มีพืชชนิดใดขึ้น เนื่องจากมีอากาศหนาวเย็น มีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี  ได้แก่ ขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้  และเกาะกรีนแลนด์
-เขตภูเขาสูงและทุนดรา ซึ่งจะมีพืชพรรณธรรมชาติที่พบ เช่น  มอส  สาหร่าย  ตะไคร่น้ำ  และไลเคน  เป็นพืชที่สามารถพบได้ในบริเวณที่มีอากาศหนาวจัดๆ มีน้ำแข็งปกคลุมตลอดเวลา ส่วนฤดูร้อนจะมีระยะเวลาสั้น  ได้แก่  ภูเขาสูง เช่น  เทือกเขาแอนดีส  เทือกเขาหิมาลัย   บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติก  และเกาะกรีนแลนด์ เป็นต้น
-เขตป่าสนตอนเหนือหรือป่าไทกา  โดยจะมีพืชพรรณธรรมชาติที่พบ  ได้แก่  ป่าสน  และป่าไทกา ซึ่งเป็นพืชที่อยู่ในเขตที่มีละติจูดสูงในฤดูหนาว หรือมีอากาศหนาวจัดและยาวนาน  ส่วนฤดูร้อนจะมีระยะเวลาสั้น มีอุณหภูมิไม่สูงมากนัก  ส่วนพื้นดินในฤดูหนาวนั้นจะปกคลุมไปด้วยหิมะ และจะมีน้ำค้างแข็งฝังตัวอยู่ในดิน
-เขตป่าเขตอบอุ่น พืชพรรณธรรมชาติที่พบในเขตนี้  ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตละติจูดกลางอยู่ใต้แนวเขตป่าสน เพราะจะกระจัดกระจายกันเป็นหย่อมๆ
-เขตป่าเขตร้อน  ซึ่งพืชพรรณธรรมชาติในเขตนี้ส่วนใหญ่จะเป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบและป่าไม้ผลัดใบ  ซึ่งประกอบไปด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิด แต่จะพบได้มากในบริเวณเส้นศูนย์สูตร  เพราะจะมีอุณหภูมิสูงตลอดปีและจะมีฝนตกชุก
-เขตทุ่งหญ้าอบอุ่น โดยพืชพรรณธรรมชาติในเขตนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้พุ่มเตี้ย และทุ่งหญ้าสั้น  ซึ่งจะพบในบริเวณที่มีฝนตกไม่มาก และไม่แห้งจนถึงกับเป็นทะเลทราย ส่วนใหญ่จะอยู่ในละติจูดกลาง  หรือในเขตทุ่งหญ้าอบอุ่นที่สำคัญ
-เขตทุ่งหญ้าเขตร้อน  หรือทุ่งหญ้าสะวันนา  ซึ่งพืชพรรณธรรมชาติในเขตนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นทุ่งหญ้าและพืชทนแล้ง โดยจะพบในบริเวณที่มีฝนตกชุก ในฤดูร้อน และอากาศแห้งแล้งในฤดูหนาว
-เขตทะเลทราย  ซึ่งพืชพรรณธรรมชาติที่พบในเขตนี้  ส่วนใหญ่จะเป็นพืชที่สามารถเก็บน้ำไว้ในลำต้นได้มาก จึงมีส่วนที่ช่วยป้องกันการระเหย


1 ความคิดเห็น: